5 เทรนด์วัยรุ่นที่ธุรกิจอาหารต้องจับตามอง
ในสังคมปัจจุบันยุค 4.0 เช่นนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับการใช้ portable device ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น smartphone หรือ tablet ที่เรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเราไปแล้ว โดยในแง่ของธุรกิจร้านอาหาร แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ของคนรุ่นใหม่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าและปรับตัวตามให้เร็ว เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดในธุรกิจ
นี่คือ 5 เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ธุรกิจอาหารต้องจับตามอง
1. การเลือกร้านอาหารหรือคาเฟ่
เวลาลูกค้าจะเลือกร้านอาหารใดสักร้าน คนรุ่นใหม่มักจะหาข้อมูลต่างๆก่อนจากบน internet หรือว่าบางครั้งไม่ได้รู้จักร้านนั้นเลยซักนิด แต่พอเห็นเพื่อนแชร์มาใน social media จึงเกิดความสนใจที่จะไปลอง
พฤติกรรมนี้เองทำให้เกิดกระแส foodie influencer เป็นอาชีพใหม่ ได้แก่เพจรีวิวอาหารมากมายในประเทศไทย ซึ่งถือว่าประสบเร็จเป็นอย่างมาก มีวิธีการทำ content ได้น่าสนใจ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย รวมถึง application ค้นหาร้านอาหารที่ได้รับความนิยมที่สุดอย่าง wongnai ซึ่งสามารถดูข้อมูลต่างๆ ของร้านอาหารได้ เช่น ที่ตั้ง เวลาเปิดปิด อาหารแนะนำ รีวิว ราคา และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไปให้เพื่อนได้ด้วย นี่เป็นโอกาสทางธุรกิจของร้านอาหารรูปแบบใหม่ ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย เพราะเป็นช่องทางการโปรโมทที่จะช่วยให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้มากขึ้น
2. ประสบการณ์สั่งอาหารในร้านอาหารที่แปลกใหม่
ปัจจุบันในต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๅมาใช้ในร้านอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างประสบการณ์ตื่นตาตื่นใจ และเป็น gimmick ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นได้ดี เช่น หุ่นยนต์ที่มาช่วยรับออเดอร์อาหาร และสามารถโต้ตอบแนะนำรายการอาหารให้ลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังมีบางร้านได้ทำเมนูอาหารแบบ Virtual Reality (VR) หรือ การทำภาพสามมิติลอยจากบนโต๊ะ โชว์ภาพอาหารต่างๆ
ได้สมจริงน่ารับประทาน เชิญชวนให้ลูกค้าได้ทดลองสั่งมารับประทาน ถือว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการพูดถึงและแชร์อย่างต่อเนื่องบน social media สามารถทำให้ร้านอาหารเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว
ตัวย่างร้านอาหารที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในประเทศไทย ก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว อย่างเช่นร้านสุกี้ชื่อดัง อย่าง MK ได้มีการใช้ ipad มาเป็นอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร ลูกค้าสามารถดูรูป ราคา และกดสั่งอาหารจากหน้าจอได้เลย โดยที่ไม่ต้องเรียกพนักงาน สามารถสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและพนักงานได้ดี
3. วิถีชีวิตที่เร่งรีบ ชอบความสะดวกและรวดเร็ว
คนในสังคมปัจจุบัน มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ไม่ชอบรอคิว ค้นหาความสะดวกสบายให้กับตัวเอง ทำให้ปัจจุบันหลายๆ คนเลือกที่จะสั่งอาหารให้มาส่งที่บ้านหรือที่ทำงาน จะได้มีเวลาไปทำเรื่องอื่นๆ โดยไม่ต้องมารอคิวหรือเดินทางไปที่ร้าน ทำให้บริการ Food Delivery ในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว มีบริษัทขนส่งอาหารเข้ามาทำธุรกิจกันอย่างคึกคัก เช่น LINEMAN, GRAB, FOODPANDA, NOW และเจ้าอื่นๆอีกจำนวนมาก เพราะตอบโจทย์พฤติกรรมและอำนวยความสะดวกได้ดี หลายๆครั้งพนักงานบริษัทเมื่อเลิกงาน ก็มีการสั่งอาหาร Delivery ขณะเดินทางกลับบ้าน เพราะ application สามารถคำนวณระยะเวลาได้ พอเดินทางถึงที่หมายก็ได้รับอาหารในเวลาที่พอดีกัน ปัจจุบันธุรกิจตัวกลางส่งอาหารมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้ค่าส่งอาหารถูกลงเรื่อยๆ เป็นผลดีกับทั้งผู้บริโภค และร้านอาหารเอง ก็มีตัวเลือกมากขึ้น หากต้องการที่จะไปทานที่ร้าน ก็มี application ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น จองโต๊ะล่วงหน้าผ่าน Eatigo ได้รับส่วดลด หรือจองคิวล่วงหน้าผ่าน QueQ ไม่ต้องไปต่อแถวหน้าร้าน ถือว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนสร้างมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ทำให้ร้านอาหารต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้เช่นกัน
4. เขียนรีวิว ถ่ายรูปลง Social Media ต่างๆ
ความนิยมของ Social Media ได้ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมชอบบอกเล่าเรื่องราวต่างๆใกันมากขึ้น อย่างเช่นเวลาไปรับประทานอาหาร หรือไปคาเฟ่สวยๆ ก็จะนิยมถ่ายรูป โพสต์ลง Instagram ทำให้ธุรกิจมากมายพยายามที่จะทำการตลาดโดยเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่าน Instagram, Facebook page และ LINE โดยมีการทำโปรโมชั่นควบคู่ เช่นให้ส่วนลดให้เมื่อลูกค้าถ่ายรูปและ check-in ที่ร้าน ก็ทำให้ร้านอาหารมีโอกาสเป็นที่รู้จัก
นอกจากการโพสต์ลง Social Media แล้ว คนยังนิยมเข้าไปรีวิวร้านต่างๆ ใน website ต่างๆ เช่น Wongnai หรือ Pantip ซึ่งในทางตรงกันข้ามหากมีประสบการณ์ที่ไม่ดี ลูกค้าก็มักจะไปร้องเรียน online เช่นกัน ดังนั้นร้านอาหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลรีวิวและข้อติชมของลูกค้าได้ เพื่อมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้นได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยธุรกิจในการบริหารจัดการส่วนนี้ เช่น Zanroo Social Listening ช่วยเก็บ Big Data มาทำการวิเคราะห์ว่าแบรนด์เราถูกพูดถึงอย่างไรบ้างในโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆได้รวดเร็วมากขึ้น
5. ชอบความ Personalization หรือสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตัว
กลยุทธ์การตลาดแบบ mass ไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการหลากหลายอีกต่อไป คนรุ่นใหม่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะตัวตรงกับความสนใจของตัวเอง เนื่องจากปัจจุนมีข้อมูลจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามาในแต่ลวัน จนทำให้พฤติกรรมคนเริ่มไม่ต้องการข้อมูลที่มากเกินไปจนเกิด information overload อีกต่อไป จะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ตัวเองสนใจเท่านั้น
ในมุมมองของอาหารและเครื่องดื่มเอง ก็มีรายละเอียดยิบย่อยที่สามารถ personalize ให้แก่ลูกค้าแต่ละรายได้ ในสภาวะที่แข่งขันสูง ธุรกิจอาหารหันมาให้ความสำคัญกับการทำ loyalty program มากขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้และเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ข้อมูลอาหารที่ลูกค้าแพ้ เครื่องดื่มที่ลูกค้าชอบสั่งเป็นประจำ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาทำโปรโมชั่นการตลาดที่โดนใจลูกค้าคนรุ่นใหม่ เช่น ที่ประเทศจีน มีการใช้เทคโนโลยี Facial Recognition สแกนหน้าลูกค้าเพื่อสะสมแต้ม loyalty card และชำระเงิน ทันทีที่สแกนใบหน้า ตัว AI จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลสมาชิกและทำนายว่าลูกค้ารายนี้น่าจะสั่งอะไร โดยหน้าจอจะนำเสนอเมนูและโปรโมชั่นที่เกี่ยวกับสินค้านั้นเป็นหลัก ถือเป็นเทคโนโลยีสุดล้ำ ที่เริ่มนำมาใช้ในวงการร้านอาหารมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจาก ปัจจัยต่างๆรอบตัว อีกทั้งเทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถอยู่รอดแข่งขันในธุรกิจได้ คนที่ปรับตัวเพื่อตอบสนองลูกค้าได้เร็วที่สุด ก็มีโอากสที่จะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าคนอื่น
สนใจเลือกซื้อกล่องอาหารคูลๆ พร้อมโลโก้ คลิกเลย