ส่อง 7 ยักษ์ใหญ่ ตัวกลางส่งอาหารระดับโลก 2020
สตาร์ทอัพตัวกลางส่งอาหารเดลิเวอรี่ มีการร่วมกลุ่มกันเพื่อขยายธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศและขยายต่อไปในระดับภูมิภาค คลื่นของการรวมกลุ่มระหว่างบริษัทเพื่อต่อยอดทั้งในด้านเทคโนโลยี และขยายฐานลูกค้าจะเป็นอย่างไร และการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เรามาวิเคราะห์การแข่งขันที่ดุเดือดนี้ ได้จาก 7 บริษัทยักษ์ใหญ่ตัวกลางส่งอาหารระดับโลกกันเลย
1. Uber Eats
Uber บริษัทผู้ให้บริการบนแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการเรียกรถที่อยู่ในวงการมายาวนาน จากนั้น Uber ก็เพิ่มบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ นั่นคือ Uber Eats ซึ่งมีแนวโน้มที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันมากถึง 91 ล้านคนต่อเดือน Dara Khosrowshahi, CEO มองกว่า Uber Eats เป็นส่วนที่สำคัญต่อวิสัยทัศน์ของ Uber ในอนาคต ด้วยการระดมทุนกว่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ Uber Technologies Inc. สามารถขยายบริษัทแบบก้าวกระโดดได้ด้วยการเข้าซื้อกิจการในธุรกิจต่างๆ และยังคงพัฒนาโปรแกรมของตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
2. Doordash
Doordash แอปพลิเคชันส่งอาหารชั้นนำของอเมริกา ส่วนแบ่งตลาดมีมูลค่ามากกว่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้มีการระดมเงินทุนในเดือนพฤษภาคมมาจาก SoftBank Group Inc. และนักลงทุนอื่นๆ เป็นจำนวน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายกิจการโดยมีการเข้าไปซื้อแอปพลิเคชันส่งอาหารที่เป็นคู่แข่งอย่าง Caviar ได้เพิ่มเมนูใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ Poke Bowl (อาหารพื้นเมืองของฮาวาย) และกลุ่มลูกค้าที่รัก McDonald's อีกด้วย คาดว่าในปี 2020 DoorDash Inc. ยังคงต่อสู้เพื่อรักษาความเป็นอันดับ 1 ในประเทศ และเริ่มมีการสำรวจเพื่อขยายการบริการไปต่างประเทศอีกด้วย
3. Just Eat
ในฤดูร้อนนี้ บริษัท Just Eat Plc ของประเทศอังกฤษ และ Takeaway.com ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งผู้ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่คลอบคลุม 10 ประเทศในยุโรป ได้ตกลงที่ควบรวมกิจการกัน โดยข้อตกลงนี้มีมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่อันแรกในยุโรป โดยสามารถคลอบคลุมการให้บริการ 11 ประเทศในปี 2020
4. Deliveroo
แอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่อื่นๆ ในลอนดอนได้ปฏิเสธการซื้อกิจการจาก Uber และ Amazon แต่ Deliveroo ได้มีการระดมทุน 575 ล้านดอลลาร์จาก Amazon และนักลงทุนรายอื่น รวมทั้งยังมีการเข้าซื้อ Cultivate บริษัทซอฟต์แวร์ในสก๊อตแลนด์เพื่อขยายฐานการให้บริการ นอกจากนี้ Deliveroo ยังคงมีเงินทุนจำนวนมากถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพียงพอที่จะรักษาความเป็นอิสระได้สักระยะหนึ่ง แต่กระแสการควบรวมกิจการที่สูงกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ก็อาจจะเพียงพอที่จะทำให้ Roofoods บริษัทแม่ เปลี่ยนใจก็เป็นไปได้
5. Grubhub
หลังจากที่ Grubhub ได้เข้าซื้อกิจการอย่าง Eat24, Foodler, OrderUp และ Seamless แล้ว ส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐอเมริกาของ Grubhub ยังคงไล่ตาม DoorDash อยู่มากพอสมควร การเข้าถึงจำนวนร้านอาหารของ Grubhub ยังคงเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนร้านอาหารทั้งหมดของ Uber Eats ในส่วนของมูลค่าตลาดของ Grubhub นั้นมีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่าต่ำลงมากถึงสองเท่า จากการเสนอขายหุ้นครั้งแรกในปี 2014 ทำให้ Grubhub Holdings Inc. มีขนาดเล็กลงและทำให้เป็นเป้าหมายในการเข้าซื้อกิจการของบริษัทยักษ์ใหญ่รายอื่น
6. Foodora
ภายใต้การบริหารของบริษัทแม่อย่าง Delivery Hero ผู้ให้บริการอาหารเดลิเวอรี่สัญชาติเยอรมัน เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2011 ได้เข้าซื้อกิจการมากกว่า 20 บริษัท และมีการดำเนินธุรกิจขยายไปมากกว่า 40 ประเทศ หลังจากบริษัท Delivery Hero ขายธุรกิจในเยอรมันให้กับ Takeaway ในปี 2018 ด้วยราคา $ 1,000,000 ทำให้ Delivery Hero SE ได้เปลี่ยนกลยุทธ์และมุ่งเน้นไปที่ตลาดที่มีการพัฒนาน้อยกว่า ด้วยการเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพส่งอาหารในสวีเดน ไซปรัส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และในปีนี้ ดูเหมือนว่า Delivery Hero SE ก็จะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ลงทุนในบริษัท Rappi Inc. ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกาอีกด้วย
7. Postmates
อาหารเดลิเวอรี่เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และเป็นเพียงหนึ่งในหลายสิบรายการที่คุณสามารถสั่งซื้อได้จาก Postmates Inc. ในปี 2019 Postmates สตาร์ทอัพจากซานฟรานซิสโก ได้เปิดขาย IPO แต่ผู้บริหารระบุว่าพวกเขาสามารถขายบริษัทได้ทันทีหากพวกเขาได้รับข้อเสนอที่สูงมากพอ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทอาจจะลดลง โดยนักลงทุนประเมินมูลค่า Postmates ไว้ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ผู้ซื้อรายใหญ่อย่างเช่น Uber และ DoorDash สนใจที่จะมาเข้าต่อรองราคาก็เป็นได้
สนใจเลือกซื้อกล่องอาหารคูลๆ พร้อมโลโก้ คลิกเลย
Ref:https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-10-21/uber-and-amazon-see-promising-food-delivery-acquisitions-in-2020