7 กลยุทธ์การปรับตัว เพื่อธุรกิจร้านอาหารปี 2020

ยุคที่การแข่งขันค่อนข้างสูง พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ปี ร้านอาหารของเราจะแข่งขันและปรับตัวอย่างไร  7 กลยุทธ์ที่ร้านอาหารควรจะปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงาน ให้เหมาะสมกับการแข่งขันในยุคใหม่ เพื่อทำให้ร้านอาหารของเราเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1. เมนูอาหารแบบ Less is More

ยิ่งเมนูอาหารเยอะเท่าไหร่ เจ้าของร้านและพนักงานก็จะยิ่งปวดหัวมากเท่านั้น เพราะเมนูอาหารที่หลากหลายจนเกินไป จะเป็นการเพิ่มงานและความซับซ้อนให้กับแต่ละส่วนงานในร้านอาหารของเรา ยิ่งมีเมนูอาหารที่เยอะ ก็จะต้องเพิ่มคนมากขึ้น ต้นทุนในการบริหารก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากงานวิจัยแมนูอาหารที่ลูกค้ามักจะสั่งประจำจะมีเพียง 20% ของเมนูทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นคุณควรจะต้องมีจำนวนเมนูอาหารให้พอเหมาะกับร้านอาหารของคุณ

2.จริงจังกับการใช้โซเชียลมีเดีย

การทำการตลาดออนไลน์ในโซเชียลมีเดียต้องมีความสม่ำเสมอ เฟสบุ๊คโพสต์อาทิตย์ที่แล้วของคุณ อาจจะมีคนไลค์เยอะหรือแชร์เยอะ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผ่านมาแล้ว จะทำอย่างไรที่ลูกค้าจะไม่ลืมและยังนึกถึงร้านอาหารของเราอยู่เสมอ การที่จะทำให้ร้านอาหารของเรามีคนเห็นในออนไลน์จะต้องมีการโพสต์อย่างสม่ำเสมอ คุณอาจจะใช้ตารางเวลาเพื่อกำหนดวันและเวลาที่จะโพสต์ในแต่ละอาทิตย์ ซึ่งการลงโพสต์อย่างสม่ำเสมอนั้นจะช่วยให้โพสต์ของเราถูกเห็นมากขึ้นอีกด้วย

3. ศึกษาคู่แข่งตลอดเวลา

ในการทำธุรกิจในยุคการค้าเสรี คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีคู่แข่ง ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ การที่ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าคุณโฟกัสการทำธุรกิจแบบที่ต้องเอาชนะผู้อื่นตลอดเวลา จะทำให้คุณดำเนินธุรกิจด้วยความกลัว กลัวที่จะแพ้ผู้อื่น เกมรับที่ดีที่สุดคือเกมรุก ดังนั้นคุณควรจะเปลี่ยนโฟกัสมาเป็น จะทำอย่างไรให้ร้านอาหารของเรามีจุดขายที่ชัดเจน บริการที่ดี มีกลยุทธ์ที่ดีกว่าและแตกต่างจากผู้อื่น

4. สร้างทีมงานที่แข็งแรง

ไม่ผิดที่เจ้าของร้านอาหาร หรือระดับผู้จัดการจะขอความช่วยเหลือจากพนักงานในร้าน เพราะตัวคุณเองก็เป็นมนุษย์ที่มีข้อจำกัด เราคงไม่สามารถทำทุกอย่างได้หมดในเวลาเดียวกัน อีกทั้งร้านอาหารเป็นการบริหารงานแบบเป็นทีม ดังนั้นคุณควรจะเน้นการทำงานที่เป็นทีม ไว้วางใจลูกน้องหรือพนักงานให้ทำงานที่สำคัญๆ เมื่อคุณไว้วางใจพวกเขา พวกเขาก็จะรู้สึกว่ามีคุณค่า รู้สึกเป็นส่วนสำคัญของร้านอาหาร และให้ความไว้วางใจคุณเช่นกัน

5. เน้นปั้นพนักงาน ดีกว่าซื้อตัวคนเก่ง

การจ้างพนักงานเกรด A ที่เก่งและมีความสามารถ มีประโยชน์อย่างไรกับร้านอาหาร พนักงานเปรียบเสมือน brand ambassador หรือตัวแทนของบริษัท ซึ่งเป็นด่านแรกที่จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า การพัฒนาบุคลากรจากพนักงานเกรด B ให้เก่งขึ้นจนกลายเป็นพนักงานเกรด A นั้น สามารถทำได้ แต่เจ้าของร้านต้องให้ความใส่ใจ และจริงจังกับการพัฒนาเพื่อดึงศักยภาพของพนักงานขึ้นมา การให้โอกาสพนักงานได้มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ จะทำให้พนักงานทุ่มเทให้กับการทำงาน และร้านอาหารก็จะมีต้นทุนในการจ้างพนักงานน้อยกว่า การจ้างพนักงานเกรด A ตั้งแต่แรก

6. ให้ความสำคัญใจพนักงานทุกระดับ

คุณอาจจะคิดว่าคุณเป็นคนที่มียุติธรรมและให้ความใส่ใจพนักงานทุกคนเท่าๆกัน แต่จริงๆ แล้วคุณอาจจะมีลูกน้องคนโปรดหรือสนิทกับลูกน้องคนไหนโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ลองพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ว่าคุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า คุณมักจะปรึกษาเรื่องโปรเจคใหม่ๆกับคนนี้เสมอ หรือเป็นคนที่ชื่นชมชีวิตส่วนตัวของคุณ หรือคอยมาปรึกษาคุณตลอด แม้ว่าความสัมพันธ์แบบนี้ดูเหมือนว่าไม่ได้เสียหายอะไร แต่มันก็อาจจะเริ่มสร้างความแตกแยกในทีมของคุณได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือต้องตระหนักเสมอว่าการกระทำของคุณส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร คุณกำลังสร้างทีมหรือทำให้ทีมแตกกันหรือเปล่า

7. จัดตารางเวลาทำงานของพนักงานในร้าน

การมีพนักงานที่เยอะในทุกช่วงเวลาที่เปิดร้านอาหาร ไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป การจัดตารางเวลาเข้างาน หรือเวลาเข้ากะของพนักงานในร้านอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรจัดตารางเวลา หรือจัดกะให้เหมาะสมกับวันและช่วงเวลาให้ดี โดยเฉพาะผู้จัดการร้าน ตัวชี้วัดที่ใช้ไม่ควรเป็นแค่ชั่วโมงการทำงานที่อยู่ในร้าน แต่ควรคิดจากผลงานที่พวกเขาได้ทำ จะทำให้ร้านอาหารมองที่ประสิทธิภาพมากขึ้น

สนใจเลือกซื้อกล่องอาหารทุกชนิด พร้อมโลโก้ คลิกเลย