ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเพียบพร้อม ในสังคมที่เร่งด่วน ทำให้ลูกค้าในยุคนี้เน้นความเร็ว และความสะดวกสบายเป็นหลัก ธุรกิจอะไรก็ตามที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในยุคนี้ได้ จะกลายเป็นที่ต้องการและสามารถเติบโตเกาะกระแสความต้องการของลูกค้าไปได้อย่างยาวนาน ธุรกิจที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่รักสบายในยุคนี้ได้แก่
1. อาหารเดลิเวอรี่
ในยุคที่วิถีชีวิตเร่งรีบ คงไม่มีธุรกิจอะไรที่จะมาแรงไปกว่าธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่อีกแล้ว ลูกค้าที่ชอบกินแต่ไม่อินกับการทำอาหารหรือขี้เกียจทำอาหาร มีมากถึง 69 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 45 ล้านคนจากจำนวนประชากร 66.41 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา รู้สึกเหนื่อยล้า และทำอาหารไม่เป็น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินธุรกิจ Food Delivery ปี 2562 ในประเทศไทยว่าน่าจะมีมูลค่ารวมทั้งหมดประมาณ 33,000-35,000 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 14% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนให้เห็นการขยายตัวของตลาดที่มีนัยสำคัญ ซึ่งคิดเป็น 8% ของธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย แอพพลิเคชั่นเจ้าดังในประเทศไทยได้แก่ Grab Food, Line Man, Get และ Food Panda ซึ่งผู้ในบริการให้ข้อมูลตรงกันว่า ช่วงเวลาที่คนสั่งอาหารเยอะที่สุดในแต่ละวันคือช่วงพักกลางวัน ส่วนเสาร์อาทิตย์จะเป็นช่วงเย็น
2. อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat)
Urbanization หรือความเป็นสังคมเมืองเติบโต ทำให้วิถีชีวิตคนในเมืองเปลี่ยนแปลงไป “คอนโดมิเนียม” กลายเป็นที่อยู่อาศัยหลักของคนในเมือง และเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น รูปแบบการอยู่อาศัย จะเน้นการทำอาหารง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน บางบ้านอาจจะมีไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์หลักในการทำอาหาร ทำให้คนในยุคนี้นิยมบริโภคอาหาร Ready to Eat เช่น อาหาร Chilled Food และ Frozen Food
ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยีการผลิต ทำให้ปัจจุบันอาหาร Ready to Eat หรืออาหารแช่แข็ง – แช่เย็นสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน มีรสชาติ และเนื้อสัมผัสใกล้เคียงกับอาหารที่ปรุงสดเป็นอย่างมาก และมีราคาที่ถูกลง สามารถหาทานได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ทำให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
3. Grab and Go
Grab and Go หรือข้าวกล่องอาหารที่เน้นความสะดวกสบายในการทาน ในเวลาเร่งด่วน เช่น ในเวลาพักกลางวันที่พนักงานออฟฟิศที่เวลาพักมีจำกัด หรือการรับประทานอาหารในรถช่วงเวลาที่รถติด โดยเทรนด์อาหารจะเน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ธุรกิจค้าปลีกเกี่ยวกับอาหาร เริ่มเน้นพื้นที่ขายอาหารในรูปแบบ Grab & Go มากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ธุรกิจร้านอาหารเอง ก็มีการจับกระแสความต้องการรับประทานอาหารแบบเร่งด่วน ตัวอย่างเช่น MK ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ Grab & Go ในชื่อแบรนด์ “Bizzy Box” ขายอาหารข้าวกล่องที่มีการปรุงสดใหม่ในทุกชั่วโมง ในราคาตั้งแต่ 49-109 บาท เปิดตามตึกออฟฟิศใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งการตอบรับของลูกค้าออกมาค่อนข้างดี โดยมียอดขายวันละ 400 กล่อง/สาขา/วัน ทำให้ MK เชื่อว่าแบรนด์ใหม่นี้จะสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ไม่นานนัก
4. Fast Casual
ร้านอาหารประเภท Fast Casual ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผสมผสานระหว่าง Fast Food ซึ่งเน้นความรวดเร็วกับ Casual Dining ซึ่งเน้นคุณภาพ บรรยากาศร้านและเมนูที่มีความหลากหลาย ในสหรัฐอเมริกา จะพบว่า Fast Casual มีแนวโน้มขยายตัวเร็วกว่า Fast Food โดยทั่วไป โดยล่าสุดในปี 2016 ขยายตัวราว 8% เทียบกับร้านประเภท Fast Food ที่ขยายตัว 4% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านประเภท แซนวิช อาหารเม็กซิกัน และเบเกอรี่ โดย Shake Shack เป็นตัวอย่างของร้านอาหาร Fast Casual ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากด้วยยอดขายที่เติบโตต่อเนื่อง
ผู้บริโภคยุคใหม่มองหาร้านอาหารที่ไม่ได้ตอบโจทย์แค่การทานอาหาร และความเร็วเท่านั้น แต่ต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ดังนั้นเจ้าของร้านอาหารนอกจากจะต้องเน้นเรื่องของรสชาติอาหาร ทำเลที่ตั้ง บรรยากาศแปลกใหม่นับเป็นจุดขายสำคัญสำหรับการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารในยุคนี้ เช่น รูปแบบร้านอาหารประเภท Plant Based หรือ Local Ingredients ทำให้ร้านอาหารช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคได้ด้วย
5. Quick Service Restaurant
Quick Service Restaurant คือ ธุรกิจอาหารบริการด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด มีตั้งแต่ฟาสต์ฟู้ดไทยริมฟุตบาท หรือร้านข้าวแกงริมฟุตบาท ไปจนถึงฟาสต์ฟู้ดของแบรนด์ระดับโลกต่างๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นห้องครัวขนาดใหญ่ที่ไม่เคยหลับใหล อาหารฟาสต์ฟู้ดตอบโจทย์คนในยุคนี้ที่เร่งรีบ และไม่ต้องการรอคอยอาหารที่นาน เน้นความไวในการรับประทาน
สตาร์ทอัพไทยอย่าง WOK Station ได้สร้าง คอนเซ็ปต์ Asian Street Food ที่ไม่ซ้ำใคร เป็นร้านอาหารที่มีครัวเปิด ลูกค้าสามารถเห็นพ่อครัวตอนปรุงอาหารได้ โชว์ความสดใหม่ในการปรุงอาหารต่อหน้าลูกค้า จุดขายที่แตกต่างคือ ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบเองได้สำหรับแต่ละเมนู และราคาไม่แพง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ทุกคนต้องเร่งรีบกันทุกวัน
สนใจเลือกซื้อกล่องอาหารคูลๆ พร้อมโลโก้ คลิกเลย